ปฏิกิริยาตอบรับ ของ ถนนสายนี้ หัวใจไม่เคยลืม

คำวิจารณ์

ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับการตอบรับจากนักวิจารณ์ภาพยนตร์ในหลาย ๆ ด้าน โดยแต่ละด้านนั้น ต่างได้รับความเห็นทั้งที่สอดคล้องกันและแตกต่างกัน โดยมีรายละเอียดดังนี้

ด้านโครงเรื่องและแนวการดำเนินเรื่อง มาร์ก สคิลลิง จากเว็บไซต์หนังสือพิมพ์ เดอะแจแปนไทม์ส กล่าวว่า “ออลเวย์สไม่ต่างอะไรจากภาพยนตร์แนวประโลมโลก (melodrama) ทั่วไป แต่ที่ทำให้มันโดดเด่นกว่า คือทุกโครงเรื่องในหนังสามารถเข้ากันได้อย่างกลมกลืน”[9] เช่นเดียวกับ จอช รัลสค์ นักวิจารณ์จากเว็บไซต์ ออลมูวีฟ์ไกด์ดอตคอม ที่กล่าวในทำนองเดียวกันว่า “แม้ ออลเวย์สจะมีโครงเรื่องและลักษณะตัวละครที่ไม่ได้แปลกใหม่หรือมีความเฉพาะตัวแต่อย่างใด แต่มันก็เป็นภาพยนตร์แนวประโลมโลกที่มีประสิทธิภาพ”[10] ทางด้านนักวิจารณ์ชาวไทย ธาตรี ช่างเหล็ก ได้เขียนเกี่ยวกับแนวเรื่องของออลเวย์สเอาไว้ในหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น โคราชรายวัน ว่า “ถนนสายนี้ หัวใจไม่เคยลืม...มาพร้อมกับพลอตเรื่องแบบ feel good เต็มที่ เรื่องราวไม่ได้สลับซับซ้อนแถมยังดำเนินเหตุการณ์ไปตามสูตรเหมือนละคร...แต่ในความเรียบง่ายนั้นมันก็ทำให้ผมคาดไม่ถึง...ไม่คิดว่าหนังจะเล่นกับต่อมน้ำตากันซึ่ง ๆ หน้า”[11]

ด้านบรรยากาศของเรื่อง รัสเซลล์ เอดเวิร์ดส์ จากเว็บไซต์ วาไรอิตีดอตคอม กล่าวว่า “ออลเวย์สสามารถแสดงบรรยากาศที่เปี่ยมด้วยความหวังและแสดงออกในรูปแบบภาพยนตร์ถวิลหาอดีต (nostalgic) ด้วยตัวมันเอง”[12] ซึ่งในประเด็นของความเป็นภาพยนตร์ nostalgic เว็บไซต์ บีอาร์เอ็นเอสดอตคอม ยังกล่าวว่า “สำหรับเนื้อเรื่องแนวถวิลหาอดีตนั้น ภาพยนตร์กระแสหลักจำนวนมากพิสูจน์ให้เห็นว่ามันเป็นแนวเนื้อเรื่องที่สะเทือนอารมณ์ง่ายเกินไป เบาหวิวเกินไป อ่อนเกินไป และคร่ำครึเกินไป แต่สำหรับภาพยนตร์เรื่องนี้ (ออลเวย์ส) ฉันกลับตกอยู่ใต้แนวคิดการมองโลกในแง่ดีอันอ่อนหวานของมัน และมันทำให้ฉันหวนกลับไปหาช่วงเวลาธรรมดา ๆ อีกครั้งหนึ่ง”[13] ส่วน นิโคลัส ดริสโคลล์ จากเว็บไซต์ โทโฮคิงดอมดอตคอม ก็กล่าวว่า “โลกที่ภาพยนตร์เรื่องนี้สร้างขึ้นเป็นสิ่งที่น่าดึงดูดใจอย่างมาก มันสามารถเรียกความประทับใจเกี่ยวกับความมหัศจรรย์ของบางสิ่งที่ดูจะธรรมดาในปัจจุบัน อย่างโทรทัศน์และตู้เย็น ให้กลับมาอีกครั้ง”[14]

ด้านการถ่ายทำ เอดเวิร์ดส์กล่าวว่า “การถ่ายทำของภาพยนตร์เรื่องนี้มีคุณภาพสูง และสามารถส่งเสริมความสมบูรณ์ให้กับ...กระบวนการออกแบบด้านภาพ (production design) ได้" นอกจากนั้นเขายังกล่าวถึงงานด้านภาพของภาพยนตร์เรื่องนี้ว่า เป็นภาพที่มีระดับความคมชัดอันน่าประทับใจ จนทำให้ฉากถนนในกรุงโตเกียวเมื่อปี พ.ศ. 2501 กลับมามีชีวิตใหม่ใหม่ได้อย่างสวยงาม[12]

ด้านนักแสดงและการแสดง สคิลลิงกล่าวว่า “นักแสดงเด็กชายทั้งสอง (คะซุกิ โคะชิมิสุ และเค็นตะ ซุงะ) สามารถแสดงได้อย่างเป็นธรรมชาติและมีเสน่ห์ ส่วนการแสดงของผู้ใหญ่ก็มีทั้งความตลกและจริงจังไม่ต่างจากการแสดงที่พบได้ในละครโทรทัศน์[9] ส่วน ดริสโคลล์มีความคิดว่า “แม้ตัวละครในภาพยนตร์เรื่องนี้จะแสดงออกอย่างเกินจริง และมักจะมีปฏิกิริยาต่อสิ่งต่าง ๆ แบบตัวการ์ตูน แต่ลักษณะพิเศษบางอย่างของตัวละครเหล่านี้ก็สามารถดึงดูดความสนใจจากผู้ชมจนเป็นที่จดจำและชวนให้นึกถึง”[14]

ในส่วนของการใช้เทคนิคพิเศษ ที่ถือเป็นองค์ประกอบสำคัญอันโดดเด่นของออลเวย์สนั้น รัลสค์กล่าวถึงประเด็นนี้ว่า “ภาพยนตร์เรื่องนี้เปี่ยมด้วยความมหัศจรรย์ทางเทคโนโลยี ที่สามารถนำมาใช้สร้างภาพกรุงโตเกียวยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้อย่างซับซ้อนและน่าชื่นชม”[10] ทางด้านเอดเวิร์ดส์ก็กล่าวในทำนองเดียวกันว่า “การใช้ซีจีไอที่เชื่อมโยงผสมผสานเข้ากับการแสดงสดและฟุตเตจสำคัญ ๆ ในออลเวย์ส ได้นำภาพกรุงโตเกียวในอดีตกลับมาอย่างยิ่งใหญ่พอสมควร”[12] ส่วนดริสโคลล์ได้ชี้ให้เห็นถึงข้อบกพร่องของการใช้เทคนิคพิเศษในออลเวย์สว่า “บางครั้ง (ซีจีไอที่ใช้) ก็สามารถจับสังเกตได้ง่าย เช่นในฉากสถานีรถไฟ จะเห็นได้ชัดว่าฝูงชนที่อยู่ในฉากนั้นส่วนหนึ่งไม่ใช่คนจริง เพราะพวกเขาเคลื่อนไหวแข็งทื่อเหมือนหุ่นยนต์ ส่วนการเปลี่ยนผ่านพื้นหลังและฉากบางฉากก็ยังไม่น่าเชื่อถือนัก...เป็นที่ชัดเจนว่าซีจีไอของออลเวย์สไม่ได้ดีเท่าภาพยนตร์เทคนิคพิเศษของฮอลลีวูด แต่ก็ยอมรับว่าเป็นการใช้เทคนิคพิเศษที่แข็งแกร่งและมีประสิทธิภาพ”[14]

ด้านความสามารถในการกำกับของทะกะชิ ยะมะซะกิ รัลสค์กล่าวว่า “การใช้กรรมวิธีที่แปลกประหลาดของเขาในฉากบางฉาก ทำให้นึกถึงผลงานของ ชอง-ปิแอร์ เชอเน ผู้กำกับภาพยนตร์ชาวฝรั่งเศส แต่ถึงแม้ว่ายะมะซะกิจะไม่ได้ริเรื่มสิ่งใหม่ ๆ ในภาพยนตร์ได้เท่าเชอเน และผลงานของเขาก็ยังปรากฏช่องโหว่อยู่ในบางจุด แต่ภาพยนตร์ของเขาก็ยังคงทำหน้าที่ได้ถึงระดับของสารัตถะ”[10] ส่วนวิวัฒน์ เลิศวิวัฒน์วงศา ได้กล่าวไว้ในเว็บไซต์ โอเพ่นออนไลน์ ว่า "เขา (ยะมะซะกิ) ...เล่าเรื่องราวที่เต็มไปด้วยการเร้าอารมณ์ ซึ่งสุ่มเสี่ยงต่อการให้ความรู้สึกซ้ำซาก น่าเบื่อ แบบหนังสูตร ๆ เรียกน้ำตาที่คนดูรู้ทัน...ได้นุ่มนวล ค่อยๆ ปล่อยให้เรื่องเล่าเร้าอารมณ์ ซึมซับเข้าไปในใจคนดู จนเราอดหลั่งน้ำตา (ทั้งๆ ที่รู้ว่าจงใจบีบคั้น) อย่างไม่ต้องอาย"[2]

ส่วนดนตรีประกอบภาพยนตร์ ที่สร้างโดยนะโอะกิ ซะโตะ นั้น ดริสโคลล์กล่าวว่า “เป็นดนตรีที่มีความหลากหลาย แตกต่างกันไปตามตัวละครแต่ละตัว...ส่วนเพลงประกอบหลักในภาพยนตร์ที่ใช้เสียงของเปียโนและเครื่องดนตรีแนวสตริง ผสมผสานกับดนตรีออร์เคสตรา ก็ส่งผลถึงอารมณ์อันอ่อนไหวได้อย่างมีประสิทธิภาพ ภาพยนตร์เรื่องนี้มีการใช้เพลงประกอบอย่างสม่ำเสมอ...โดยดนตรีที่ใช้มีหน้าที่ปลุกเร้าอารมณ์ผู้ชมอย่างเห็นได้ชัด แต่นั่นอาจสร้างความรำคาญให้แก่บางคนได้”[14]

นอกจากนั้น ในระดับองค์รวมของภาพยนตร์เรื่องนี้ รัลสค์และเอดเวิร์ดส์ ต่างเห็นพ้องกันกว่า ออลเวย์สมีความคล้ายคลึงกับภาพยนตร์ของยะซุจิโร โอะสุ (พ.ศ. 24462506) ผู้กำกับภาพยนตร์ที่ทรงอิทธิพลคนหนึ่งของญี่ปุ่น โดยรัลสค์กล่าวว่า “เนื้อเรื่องของมุสึโกะ สาวบ้านนอกผู้เดินทางมาแสวงโชคในเมือง และมีปัญหากับครอบครัวซุซุกิในช่วงแรกนั้น ทำให้เราได้สัมผัสถึงสภาพแวดล้อมทางสังคมในภาพยนตร์ของโอะสุ”[10] ส่วนเอดเวิร์ดกล่าวว่า “การอ้างอิงถึงวัฒนธรรมและการแสดงที่เต็มไปด้วยความตลก (ของออลเวย์ส) ทำให้นึกถึงภาพยนตร์เรื่อง กู๊ดมอร์นิง (พ.ศ. 2502) ของโอะสุ และ คาร์เมนคัมส์โฮม (พ.ศ. 2494) ของเคซุเกะ คิโนะชิเตะ[12]

การเข้าฉายและรายได้

ออลเวย์สเข้าฉายในประเทศญี่ปุ่นครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2548[15] ด้วยจำนวนโรงฉาย 271 โรง โดยสามารถเปิดตัวบนบอกซ์ออฟฟิซของญี่ปุ่น ด้วยอันดับที่ 2 รองจากเรื่อง The Brothers Grimm พร้อมกับรายได้ 1,844,651 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 218 ล้านเยน ต่อมา สามารถทำรายได้ขึ้นสู่อันดับที่ 1 เป็นเวลาสองสัปดาห์ติดต่อกัน (12 - 20 พ.ย. 2548) รายได้รวมทั้งหมดของออลเวย์สอยู่ที่ 19,504,733 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 2.5 พันล้านเยน ด้วยยอดจำหน่ายตั๋วมากกว่า 2 ล้านใบในญี่ปุ่น[16][17]

ในส่วนของต่างประเทศ ออลเวย์สเข้าฉายในประเทศไทยเมื่อวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2549[15] แบบจำกัดโรงฉาย ที่โรงภาพยนตร์เครือเอเพ็กซ์ (ลิโดและสยาม) และเฮาส์ และเข้าฉายในไต้หวัน เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2550[15] ด้วยจำนวนโรงฉาย 5 โรง โดยสามารถทำรายได้ติดอันดับที่ 7 บนบอกซ์ออฟฟิซของไต้หวัน ด้วยรายได้สัปดาห์แรก 22,814 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 7.5 แสนดอลลาร์ไต้หวันใหม่[18]

นอกจากนั้น ออลเวย์สยังได้รับเชิญให้ไปฉายตามเทศกาลภาพยนตร์ต่าง ๆ เช่น เทศกาลภาพยนตร์ญี่ปุ่น ครั้งที่ 10 ประจำปี พ.ศ. 2549 (เครือรัฐออสเตรเลีย, ซึ่งออลเวย์สได้รับเกียรติให้เป็นภาพยนตร์ฉายเปิดเทศกาลนี้) [19] เทศกาลภาพยนตร์เอเชียซานดิเอโก ครั้งที่ 7 ประจำปี พ.ศ. 2549[20] เทศกาลภาพยนตร์ "แจแปนิสเคอร์เรนต์สนิวซิเนมา"[21] เทศกาลภาพยนตร์เอเชียนิวยอร์ก ประจำปี พ.ศ. 2549[22] เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติฮาวาย[23] เทศกาลภาพยนตร์นิวพอร์ตบีช ประจำปี พ.ศ. 2550[5] (สหรัฐอเมริกา) และเทศกาลภาพยนตร์แฟนเทเชีย ประจำปี พ.ศ. 2550 (ประเทศแคนาดา) [24] เป็นต้น

ตารางแสดงอันดับบนบอกซ์ออฟฟิซญี่ปุ่น

สัปดาห์ที่ช่วงเวลา
(พ.ศ. 2548)
อันดับในบอกซ์ออฟฟิซ[16]รายได้ประจำสัปดาห์
(ดอลลาร์สหรัฐ)
รายได้รวม
(ดอลลาร์สหรัฐ)
จำนวนโรงฉาย
(โรง)
15 - 6 พ.ย.21,844,6511,844,651271
212 - 13 พ.ย.11,849,7225,687,377270
319 - 20 พ.ย.11,658,9839,430,658270
426 - 27 พ.ย.21,421,33213,371,003269
53 - 4 ธ.ค.31,295,54116,115,234270
610 - 11 ธ.ค.6851,57818,288,261254
717 - 18 ธ.ค.8275,81119,504,733182

ตารางแสดงอันดับบนบอกซ์ออฟฟิซไต้หวัน

สัปดาห์ที่ช่วงเวลา
(พ.ศ. 2550)
อันดับในบอกซ์ออฟฟิซ[25]รายได้ประจำสัปดาห์
(ดอลลาร์สหรัฐ)
รายได้รวม
(ดอลลาร์สหรัฐ)
จำนวนโรงฉาย
(โรง)
124 - 25 มี.ค.722,81422,8145
231 มี.ค. - 1 เม.ย.815,03260,8825
37 - 8 เม.ย.116,36581,3483
414 - 15 เม.ย.152,86688,2973
522 - 22 เม.ย.222,20992,2013
628 - 29 เม.ย.251,09395,2172
75 - 6 พ.ค.171,19597,3011
ออลเวย์สกับรางวัล แจแปนนิส อคาเดมี 12 รางวัล

รางวัลที่ได้รับ

ออลเวย์สได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลภาพยนตร์ดีเด่นสาขาต่าง ๆ จาก 8 รายการด้วยกัน โดยแบ่งเป็นรายการภายในญี่ปุ่น 7 รายการ และรายการระดับนานาชาติ 1 รายการ โดยรายการภายในประเทศที่ประสบความสำเร็จที่สุด คือ รางวัลแจแปนิส อคาเดมี ประจำปี พ.ศ. 2548 ที่ได้รับการเสนอชื่อ 14 สาขา และได้รับรางวัลทั้งสิ้น 12 สาขา ส่วนสาขาที่ประสบความสำเร็จที่สุด คือ สาขานักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม (ฮิโระโกะ ยะกุชิมะรุ) ที่ได้รับรางวัลจากรายการต่าง ๆ ทั้งสิ้น 6 รางวัลด้วยกัน[26]

ส่วนรางวัลระดับนานาชาติที่ได้รับ คือ รางวัลฟิล์มพรีเซนเต็ด จากเทศกาลภาพยนตร์นิวพอร์ตบีช ประจำปี พ.ศ. 2550[5] และรางวัลออเดียนซ์อวอร์ด จากเทศกาลภาพยนตร์เอเชียนิวยอร์ก[27]

นอกจากนั้น ในประเทศไทย ออลเวย์สยังได้รับการเสนอชื่อจากสมาชิกเว็บไซต์พันทิปดอตคอม โต๊ะเฉลิมไทย ให้เข้าชิงรางวัลเฉลิมไทยอวอร์ด ครั้งที่ 4 เมื่อปี พ.ศ. 2550 4 สาขาด้วยกัน โดยสาขาที่ชนะรางวัล คือ สาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยมประเภทภาพยนตร์ฉายแบบจำกัดโรง

ตารางแสดงผลรางวัลที่ได้รับการเสนอชื่อ

รางวัลสาขารางวัลผู้ได้รับการเสนอชื่อผล
งานประกาศรางวัลแจแปนนิสอคาเดมี (พ.ศ. 2549)
รางวัลแจแปนนิสอคาเดมีภาพยนตร์ยอดเยี่ยมได้รับรางวัล
ผู้กำกับยอดเยี่ยมทะกะชิ ยะมะซะกิ
นักแสดงนำชายยอดเยี่ยมฮิเดะตะกะ โยะชิโอะกะ
นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยมโคะยุกิได้รับการเสนอชื่อ
นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยมชินอิจิ สึสึมิได้รับรางวัล
นักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยมฮิโระโกะ ยะกุชิมะรุ
บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยมทะกะชิ ยะมะซะกิ และเรียวตะ โคะซะวะ
กำกับภาพยอดเยี่ยมโคะโสะ ชิมะซะกิ
ลำดับภาพยอดเยี่ยมริวจิ มิยะจิมะ
กำกับศิลป์ยอดเยี่ยมอันริ โจโจะ
ดนตรีประกอบยอดเยี่ยมนะโอะกิ ซะโตะ
กำกับเสียงยอดเยี่ยมฮิโตะชิ สึรุมะกิ
กำกับแสงยอดเยี่ยมเค็นอิจิ มิซุโนะ
นักแสดงดาวรุ่งแห่งปีมะกิ โฮะริกิตะได้รับการเสนอชื่อ
งานประกาศรางวัลบลูริบบอน (พ.ศ. 2549)
รางวัลบลูริบบอนนักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยมฮิโระโกะ ยะกุชิมะรุได้รับรางวัล
งานประกาศรางวัลภาพยนตร์โฮะจิ (พ.ศ. 2548)
รางวัลภาพยนตร์โฮะจิภาพยนตร์ยอดเยี่ยมทะกะชิ ยะมะซะกิได้รับรางวัล
นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยมชินอิจิ สึสึมิ
นักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยมฮิโระโกะ ยะกุชิมะรุ
งานประกาศรางวัลคิเนะมะจุมโปะ (พ.ศ. 2549)
รางวัลคิเนะมะจุมโปะนักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยมชินอิจิ สึสึมิได้รับรางวัล
นักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยมฮิโระโกะ ยะกุชิมะรุ
รางวัลรีดเดอร์สชอยซ์ภาพยนตร์ยอดเยี่ยมทะกะชิ ยะมะซะกิ
ไมนิจิฟิล์มคอนเคอร์ส (พ.ศ. 2549)
รางวัลไมนิจิฟิล์มคอนเคอร์สกำกับศิลป์ยอดเยี่ยมอันริ โจโจะได้รับรางวัล
กำกับภาพยอดเยี่ยมโคะโสะ ชิมะซะกิ
รางวัลด้านเทคนิคทีมงานวิชวลเอฟเฟคต์
รางวัลรีดเดอร์สชอยซ์ภาพยนตร์ญี่ปุ่นยอดเยี่ยม
งานประกาศรางวัลภาพยนตร์นิกกังสปอร์ต (พ.ศ. 2548)
รางวัลอิชิฮะระ ยุจิโระได้รับรางวัล
รางวัลภาพยนตร์นิกกังสปอร์ตนักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยมชินอิจิ สึสึมิ
นักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยมฮิโระโกะ ยะกุชิมะรุ
เทศกาลภาพยตร์โยะโกะฮะมะ (พ.ศ. 2548)
รางวัลเฟสติวัลไพรซ์นักแสดงหน้าใหม่ยอดเยี่ยมมะกิ โฮะริกิตะได้รับรางวัล
นักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยมฮิโระโกะ ยะกุชิมะรุ
เทคนิคยอดเยี่ยมทะกะชิ ยะมะซะกิ
เทศกาลภาพยนตร์นิวพอร์ตบีช (พ.ศ. 2550)
รางวัลฟิล์มพรีเซนเต็ดได้รับรางวัล
เทศกาลภาพยนตร์เอเชียนิวยอร์ก
รางวัลออเดียนซ์อวอร์ดได้รับรางวัล
เฉลิมไทยอวอร์ด ครั้งที่ 4 (พ.ศ. 2550)
รางวัลเฉลิมไทยอวอร์ดบทภาพยนตร์ต่างประเทศแห่งปีได้รับการเสนอชื่อ
ภาพยนตร์ยอดเยี่ยมประเภทภาพยนตร์ฉายแบบจำกัดโรงได้รับรางวัล
งานภาพในภาพยนตร์แห่งปีได้รับการเสนอชื่อ
งานศิลป์ในภาพยนตร์แห่งปี

แหล่งที่มา

WikiPedia: ถนนสายนี้ หัวใจไม่เคยลืม http://allmovie.com/cg/avg.dll?p=avg&sql=1:341270 http://www.allmovie.com/cg/avg.dll?p=avg&sql=1:341... http://www.allmovieguide.com/cg/avg.dll?p=avg&sql=... http://boxofficemojo.com/intl/japan/?yr=2005&curre... http://boxofficemojo.com/intl/taiwan/?yr=2007&curr... http://boxofficemojo.com/intl/taiwan/?yr=2007&wk=1... http://www.brns.com/japan/pages1/japan40.html http://www.fantasiafestival.com/2007/en/films/film... http://www.hanamiweb.com/topstory17082006.html http://www.hogacentral.com/Special_TY_AST.html